จังหวัดบุรีรัมย์จัดงานเดินแบบผ้าไหม สุดอลังการ เชิดชูมรดกทางภูมิปัญญา ภายในงานส่งเสริมการท่องเที่ยวมหัศจรรย์บุรีรัมย์ “กาชาดและไหม” ประจำปี 2563

0

เมื่อช่วงเย็นวันที่ 9 มกราคม 2563 นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยนายดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ่อค้า คหบดี ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมเดินแบบผ้าไหมการกุศล ที่บริเวณตลาดนัดคลองถมหนองแปบ ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ในงานส่งเสริมการท่องเที่ยวมหัศจรรย์บุรีรัมย์ “กาชาดและไหม” ประจำปี 2563 เพื่อจัดหารายได้ให้สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ การสงเคราะห์แก่ราษฎรที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมอาชีพและรายได้ ผลิตภัณฑ์ OTOP และเผยแพร่ผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นเอกลักษณ์มรดกทางภูมิปัญญาของชาวจังหวัดบุรีรัมย์

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ทั้งนี้เป็นการสืบสานมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของ 4 ชนเผ่าที่มีคุณค่าได้สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์มาอย่างยาวนาน มาตั้งแต่กรมหมื่นพิชัยมหิตโรดม พระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 อธิบดีกรมช่างไหมคนแรกได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่เมืองพุทไธสง ในสมัยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และได้พัฒนาเป็นโครงการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในเวลาต่อมา ผ้าไหมบุรีรัมย์ “ผ้าซิ่นตีนแดง” ผ้าอัตลักษณ์ของชนเผ่าลาว ผ้าหางกระรอกคู่ ผ้าอัตลักษณ์ของชนเผ่าเขมร และ”ผ้าหางกระรอกคู่ตีนแดง” ผ้าอัตลักษณ์ใหม่ผสมผสานของชนเผ่าที่ยึดโยงร้อยเรียงแสดงความรัก ความสามัคคี ที่มีคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม และคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ แถบ
ในภาพอาจจะมี 5 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์