7 ที่เที่ยว เมืองต้องห้ามพลาด@บุรีรัมย์
1. วงเวียนช้าง
วงเวียนช้าง หรือ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับอยู่บนคอช้างศึกหล่อด้วยโลหะสวมฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัติยราชประเพณีโบราณ
วงเวียนแห่งนี้คนบุรีรัมย์มักจะมากราบไหว้ขอพรและเมื่อคำขอเป็นจริงก็จะซื้อรูปปั้นช้าง พวงมาลัย หรือกล้วยมาแก้บน หากมาบุรีรัมย์ก็ต้องมากราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต


2. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองบุรีรัมย์

สิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองที่เคารพและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบุรีรัมย์ มีรูปแบบส ถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมากจากปราสาทหินพนมรุ้งซึ่งคงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์
3. สนามช้างอารีนา


สนามช้างอารีนา เป็นสนามเหย้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีกทั้งยังเป็นสนามฟุตบอลมาตรฐานฟีฟ่า ซึ่งจุผู้ชมได้มากที่สุดถึง 32,600 ที่นั่ง และยังได้รับการบันทึกไว้ในกินเนสส์ เวิลด์ เรกคอร์ดส์ ว่าเป็นสนามฟุตบอลมาตรฐานฟีฟ่าที่ใช้เวลาสร้างน้อยที่สุดในโลก คือ 256 วัน นอกจากนี้ สนามช้างอารีนายังเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐาน แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยไม่มีลู่วิ่งข้างสนาม

นอกจากภายในสนามแล้วส่วนประกอบบริเวณนอกสนามก็มีมีพื้นที่มากมายให้เดินเก็บบรรยากาศ รวมทั้งร้านขายของที่ระลึกของสโมสร หรือ Buriram United Mega Store ตั้งอยู่ด้านหน้าสนาม ขายของที่ระลึกต่างๆ เช่น เสื้อ พวงกุญแจ หมวก กระเป๋า เป็นต้น ซึ่งตอนนี้เสื้อและของที่ระลึกประจำสโมสรเลยกลายเป็นของฝากประจำจังหวัดบุรีรัมย์ไปเรียบร้อยแล้ว
4. สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต
บุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต หรือ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ ในประเทศไทย ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้าง อารีน่า ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 24 กันยายน 2557 สนามช้างได้รับการรับรองจากสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ ว่าเป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ เกรด 1 (FIA Grade 1) ซึ่งเป็นระดับสนามที่อนุญาตให้ใช้จัดการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง (ฟอร์มูลาวัน) ได้



5. วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง
วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรองพระพุทธบาทจำลอง


และมี ”พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ อยู่บนยอดเขา และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเต็งรัง เนื้อที่ประมาณ 6 พันไร่ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่หาชมได้ยาก เช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ ที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ


6. บุรีรัมย์คาสเซิล
BURIRAM CASTLE เป็นส่วนหนึ่งของ BURIRAM UNITED ตั้งอยู่ระหว่างสนาม I-MOBILE STADIUM และสนามแข่งรถระดับโลก CHANG INTERNATIONAL CIRCUIT พื้นที่ขนาด 93,000 ตร.ม. แบ่งเป็น Avenue Area 35,000 ตร.ม. ,ปราสารหินพนมรุ้งจำลอง 14,000 ตร.ม., สวนไม้ดอก ไม้ประดับและสวนตะบองเพชร 35,000 ตร.ม. (ออกแบบและจัดสร้างโดย สวนนงนุช), CAR PARKING 8,000 ตร.ม.

เป็นแหล่งอารยธรรมใหม่…ที่รวมหัวใจของบุรีรัมย์ไว้..ที่นี่ ที่เดียว ที่รวมความต้องการให้กับทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นชาวบุรีรัมย์ เพื่อนพี่น้องจากจังหวัดใกล้เคียง นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่ นี่…ผสานโลก 2 ยุค ได้อย่างลงตัวที่สุด ความงดงามของอารยธรรมขอมในอดีต ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับโลกไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วย มาตรฐานที่เป็นสากล เปิดบริการ ปี 2558 (ต้นไตรมาส 3 )


- มีปราสาทพนมรุ้งจำลอง เป็นจุด landmark
- มีสวนหินและสวนตะบองเพชรขนาดใหญ่
- แบ่งส่วน Community mall โดยจัดโซน ดังนี้
- ร้านอาหาร
- Shopping เสื้อผ้า,แฟชั่น,ของที่ระลึก,motor sport Apprel
- Kidzone โรงเรียนพิเศษ Playgroud, SPA, Beauty
- Service,It, Bank(SCB), Ticket การเดินทาง
- Food court ,ลานกิจกรรม
- Night life
7. ปราสาทหินพนมรุ้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย